ทำไมเสียภาษีรถยนต์ไม่เท่ากัน วิธีคำนวณคิดอย่างไร?

เคยสงสัยกันหรือไม่! ว่าในแต่ละปี ทำไมเวลาเสียภาษีรถยนต์ไม่เท่ากัน มันต่างกันอย่างไร แล้ววิธีคำนวณภาษีรถยนต์คิดอย่างไร?

——————————————————————————————————–

ทำไมรถยนต์แต่ละคันถึงจ่ายภาษีรายปีไม่เท่ากัน วิธีคำนวณภาษีรถยนต์คิดอย่างไร?

ต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์แต่ละปี ทำเอาแทบลมจับกันเลยทีเดียว ทั้งค่าประกันรถยนต์ ค่าประกัน พ.ร.บ ค่าบำรุงรักษา ไหนจะค่าภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อทุกปีอีก เวลาไปต่อภาษีเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทำไมรถยนต์แต่ละคันถึงจ่ายภาษีรายปีไม่เท่ากัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบ รวมถึงเรามีวิธีคำนวณภาษีรถยนต์มาฝากด้วย

ทำไมรถยนต์แต่ละคันถึงจ่ายภาษีรายปีไม่เท่ากัน?

หลายคำตั้งคำถามว่า “ทำไมรถยนต์แต่ละคันเสียภาษีไม่เท่ากัน” คำตอบก็คือ เพราะอัตราการเสียภาษีรถยนต์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนัก ประเภท รุ่นรถยนต์ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่จะนำมาคำนวณภาษีรายปีที่จะต้องจ่าย ทำให้รถยนต์แต่ละคันเสียภาษีไม่เท่ากัน

หลักการคำนวณภาษีรถยนต์มีกี่ประเภท?

ถ้าแบ่งการคำนวณภาษีรถยนต์ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 จะแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

  1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
  2. จัดเก็บตามน้ำหนัก
  3. จัดเก็บเป็นรายคัน
  4. รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์คิดอย่างไร? 

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (ทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่งจะคำนวณภาษีรถยนต์จากขนาดเครื่อง (cc)  ดังนี้

  • ขนาดเครื่อง ตั้งแต่ 1-600 cc คิดอัตราภาษี 50 สตางค์/cc
  • ขนาดเครื่อง ตั้งแต่  601-1800 cc คิดอัตราภาษี  1.50 บาท/cc
  • ขนาดเครื่อง ตั้งแต่ 1801 cc  ขึ้นไป คิดอัตราภาษี  4  บาท/cc

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะมีส่วนลดค่าภาษีด้วย

  • อายุการใช้งานเกิน   6 ปี มีส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการใช้งานเกิน   7 ปี มีส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการใช้งานเกิน   8 ปี มีส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการใช้งานเกิน   9 ปี มีส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการใช้งานเกิน 10 ปี มีส่วนลดค่าภาษี 50%
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว)

รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีรถยนต์จากน้ำหนักรถ ดังนี้

  • น้ำหนัก 501- 750   Kg. อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนัก 751 – 1000  Kg.   อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนัก 1001 – 1250 Kg.   อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนัก 1251 – 1500 Kg. อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนัก 1501 – 1750 Kg.   อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนัก 1751 – 2000 Kg.  อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนัก 2001 – 2500 Kg.   อัตราภาษี 1,650 บาท
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 คน (ทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน)

รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีรถยนต์จากน้ำหนักรถ ดังนี้

  • น้ำหนักไม่เกิน 1800 Kg.     อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักเกิน 1800 Kg.   อัตราภาษี  1,600 บาท
  • อัตราภาษีจัดเก็บเป็นรายคัน

นอกจากนี้ยังมีรถที่มีการจัดเก็บภาษีรายคัน ได้แก่ 

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
  • รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
  • รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  • รถบดถนน คันละ 200 บาท
  • รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
  • อัตราภาษีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะคิดภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

ต่อภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ต้องใช้เอกสาร ดังนี้ 

  1. สมุดเล่มทะเบียนรถ
  2. หลักฐานการทำ พ.ร.บ.
  3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ

หากเตรียมในส่วนของเอกสารครบแล้ว ก็สามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ที่ขนส่งในแต่ละพื้นที่ได้เลย

ต่อภาษีประจำปีกันไปแล้ว ก็อย่าลืมต่อประกันรถยนต์กันด้วย เพราะประกันรถยนต์ถือเป็นหลักประกันความเสี่ยง ที่จะช่วยให้คุณขับขี่ได้อย่างอุ่นใจ ไม่ว่าจะเจอปัญหาแบบไหนก็สามารถขอความช่วยเหลือได้ สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ สามารถทำประกันรถยนต์ผ่าน Rabbit Care ได้ที่ www.rabbitcare.com เรารวบรวมบริษัทชั้นนำเอาไว้มากมาย รวมทั้งยังมีข้อเสนอพิเศษที่มากกว่า ทั้งการการันตรีราคา บริการช่วยเหลือแจ้งเคลม บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชม. รวมถึงสามารถผ่อนชำระค่าเบี้ยได้แบบสบายๆ ทั้งบัตรเครดิต และเงินสด